24 พ.ย. 2556

บ้านต้านพายุ

เมื่อพายุมาก็สร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนอย่างมากมาย ก็ทำให้ผู้รู้แต่ละท่าน
ก็พยายามที่จะออกแบบบ้านต้านพายุขึ้น เพราะถ้าบ้านสามารถทนพายุได้ ข้าวของ
เครื่องใช้ต่างๆก็ยังคงมีอยู่ มิใช่เหลือแต่ตัวเหมือนปัจจุบัน เรามาดูว่ามีการออกแบบ
บ้านแบบใดบ้างที่ช่วยลดความศูนย์เสียนี้ได้บ้าง

ชาวนิวออร์ลีนส์มีเฮ…เมื่อสถาปนิกคิดบ้านสำเร็จรูปต้านพายุเฮอริเคน

ในยุคเริ่มต้นของมนุษย์ ‘บ้าน’ เป็นเพียงที่พักอาศัยเพื่อความปลอดภัยของตนเอง
ไม่แปลกใจที่วิวัฒนาการของบ้านได้เดินทางควบคู่กับมนุษย์เรื่อยมา จนมาถึงปัจจุบัน
มรสุมทางธรรมชาติเข้าโหมกระหน่ำมนุษย์มากขึ้น และเมื่อในเมื่อบ้านยังเป็นที่พักอาศัย
ของมนุษย์ ดังนั้นจึงมีคนกลุ่มหนึ่งได้รวมตัวกันสร้างบ้านตัวอย่างที่พร้อมสำหรับพายุ
เฮอริเคนที่ New Orleans สหรัฐอเมริกา

บ้านดีไซน์สวยหลังนี้คว้ารางวัลที่หนึ่งจากการประกวดบ้านสำเร็จรูปต้านพายุเฮอริเคน
New Orleans Sustainable Design Competition ซึ่งออกแบบโดย ศาสตราจารย์
Judith Kinnard และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Tiffany Lin แห่งมหาวิทยาลัย Tulane
ถือสิทธิ์โดย  Sustainable Building Company REOSE 
บ้านหลังนี้มีวัสดุหลักที่ใช้คือ Steel Structured Insulated Panes (SSIPs)
เป็นวัสดุที่มีลักษณะเป็นแผ่น ซึ่งใช้สำหรับการติดตั้งเพื่อเป็นเปลือกรอบอาคาร
เป็นทั้งฉนวนกันความร้อน และสามารถรองรับน้ำหนักของตัวอาคารได้
(Load Barring)  มีความแข็งแรง ทนทาน จึงทำให้ป้องกันแรงลมได้อย่างน้อย
160 mph


จุดเด่นของบ้านต้านพายุหลังนี้ คือ Sun roof แผงโซลาเซลล์ที่ติดตั้งไว้ด้านบนของ
กรอบสีเขียวมะนาวสุดจี๊ดจ๊าดที่ดูโดดเด่นสะดุดตา และพลังงานไฟฟ้าที่ได้ก็ยังเพียงพอ
สำหรับใช้งานได้อีกหลายอาทิตย์ และ Water roof หลังคาสูงสำหรับรองรับน้ำฝนที่จะ
ถูกกักเก็บไว้ใต้ดินเพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน หลังเกิดพายุ ซึ่งเพียงพอสำหรับบ้านขนาด
 1,100 ตารางฟุต ที่มีถึงสองห้องนอน สองห้องน้ำ ด้วยประโยชน์ของหลังคาทั้งสอง
นี้จึงเป็นที่มาของชื่อ Sunshower



นอกจากนี้กรอบของอาคารยังเผื่อที่ติดตั้งกังหันลมสำหรับสร้างพลังงานเสริมเพิ่มอีกทาง
และยังมีส่วนอื่นๆ ที่ออกแบบให้เป็นมิตรกับธรรมชาติ เช่น การออกแบบช่องเปิดให้มี
เส้นทางของลม (wind flow) ผ่านตัวบ้าน หรือจะเป็นช่องเปิดเพื่อให้แสงจากธรรมชาติ
เข้าถึงภายใน จึงทำให้ลดการใช้พลังงานลง
                       
แม้ว่าเราไม่อาจฝืนที่จะสู้กับพลังธรรมชาติได้ แต่ด้วยความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบดีๆ
อย่างนี้ เราก็สามารถพัฒนาบ้านที่พร้อมจะฝ่าฝันอุปสรรคและอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างเป็นสุข


ภาพ
และข้อมูลจาก http://www.creativemove.com
............................................
บ้านไม่บานต้านพายุ ของอ.เชี่ยว ชอบช่วย (ขอคัดลอกมาทั้งหมดเลยนะคะ)

บ้านไม่บานต้านพายุ (1)
          เหตุการณ์พายุคลื่นยักษ์ "ซูนามิ" ที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของผืนดินใต้ทะเลเมื่อครั้ง
ช่วงปลาย ธันวาคม ที่พึ่งผ่านมานับเป็นเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่ฝังอยู่ในความทรงจำ
ของบรรดาคนรักบ้านทั้งที่อยู่ภายในประเทศไทยและรับทราบข่าวคราวอยู่ในต่างประเทศ 
เพราะเป็นเหตุการณ์ของการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา เหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่มครั้งนี้ไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบแต่ยังรวม
ไปถึงพี่น้องเพื่อนบ้านในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกหลายประเทศ ที่ต้องพบกับความ
สูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ในครั้งนี้
บ้านไม่บานต้านพายุ (1)
บ้านไม่บานต้านพายุ (1)
บ้านไม่บานต้านพายุ (1)
          โดยคลื่นยักษ์ซึ่งเป็นภัยพิบัติที่ร้ายแรง
ทางธรรมชาตินี้ ได้เริ่มเคลื่อนตัวออกมาจาก
เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย และภาย
ในระยะเวลาเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงก็ได้เคลื่อน
ตัวมาถึงประเทศไทย ที่จังหวัดภูเก็ต
เมื่อเวลาประมาณ 10.00 นาฬิกาและโถม
กระหน่ำพื้นที่ใกล้เคียง ผลกระทบจากการ
เคลื่อนตัวของมหันตภัยคลื่นยักษ์นี้ ซึ่งก็
เป็นที่ทราบกันดีครับว่า ได้ส่งผลกระทบ
ให้หลายจังหวัดทางภาคใต้ได้รับความ
เสียหายเป็นจำนวนมาก ทั้งทางชีวิตและ
ทรัพย์สิน ไม่เฉพาะพี่น้องชาวไทยเท่านั้น
แต่ยังรวมไปถึงบรรดานักท่องเที่ยวจาก
ต่างประเทศที่ได้เดินทางเข้ามาท่องเที่ย
วในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวด้วย
          จากเหตุการณ์ครั้งนี้ จึงจำเป็นต้องมี
แนวทางการฟื้นฟูบ้านเมืองที่พังพินาศลงและ
ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ๆ ส่วน
ด้วยกันครับ รวมทั้งการวางแผนการออกแบบ
อาคารบ้านเรือนที่อยู่ในละแวกที่มีความเสี่ยง
อาจเกิดอันตรายจากพายุหรือมหันตภัยทาง
น้ำที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคตได้ เช่น 
การออกแบบกำแพงกันคลื่น หรือสันเขื่อ
นกันคลื่น การสร้างเสาไฟ หรือการเดิน
สายไฟหากเป็นไปได้ก็ควรจะวางผังให้ระบบไฟฟ้าเหล่านี้ลงดิน การวางระบบการระบายน้ำ
ที่รวดเร็ว อาคารบ้านเรือนที่ก่อสร้างขึ้นจำเป็นที่จะต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในการเลือก
ประเภทวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างรวมทั้งรูปแบบและรูปทรงของอาคารรวมไปถึงวิธีการก่อสร้าง
ที่มีความคงทนแข็งแรง มั่นคง การศึกษาทิศทางลม ทิศทางของน้ำ และทิศทางของคลื่น 
อาคารบ้านเรือนที่มีการก่อสร้างติดกับแหล่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำ หรือว่าทะเล ควรมีการทิ้ง
ระยะห่างระหว่างบ้านที่ก่อสร้างกับชายฝั่ง เพราะสามารถลดความรุนแรงของการปะทะจาก
คลื่นทะเลได้ และในอนาคตการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนจำเป็นที่จะต้องมีการคำณวนรับแรง
กระทำจากกระแสคลื่นและกระแสลมและจะต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ อาทิเช่น
แผ่นดินไหวด้วย
บ้านไม่บานต้านพายุ (1)
บ้านไม่บานต้านพายุ (1)
          
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ รูปทรงของอาคารบ้านเรือน จำเป็นที่จะต้องได้รับการ
ศึกษาค้นคว้าหารูปแบบที่เหมาะสม ทั้งอาคารพาณิชย์, โรงแรม , บังกะโล, รีสอร์ท 
อาจจะต้องมีการออกแบบและเตรียมการสำหรับบริเวณหลบภัย การฟื้นฟูรวมทั้งการหา
วิธีการป้องกันมหันตภัยร้ายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนนั้น หากกล่าวตามหลักการ
ออกแบบส่วนหนึ่งของอาคารบ้านเรือนแล้วก็คงเปรียบได้กับ หลักโหงวเฮ้ง 5 ประการ 
ของบ้านไม่บานที่ใช้ในการออกแบบอาคารบ้านเรือนให้กับแฟน ๆ ชาวบ้านไม่บาน 
นั่นก็คือการคำนึงถึง การออกแบบ การวางผัง, วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้, วิธีการก่อสร้าง,
 ตกแต่งภายใน, การซ่อมบำรุง ดูแลรักษาและบูรณะฟื้นฟู เป็นต้นครับ
           เหตุการณ์โศกนาฎกรรมครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นนี้สามารถใช้เป็นอุทาหรณ์ในด้าน
การวางมาตรการด้านความปลอดภัยทั้งกับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและที่เดินทาง
มาจากต่างประเทศ รวมทั้งพี่น้องชาวไทยที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ติดกับแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ
 ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ระบบการตรวจสอบเตือนภัยรวมไปถึงการให้ข่าวสารข้อมูลแก่
สาธารณะชนเมื่อเกิดเหตุร้ายให้ได้รับรู้ภายในระยะเวลา ประมาณ 1-2 ชั่วโมงก่อนที่
คลื่นจะเข้ามาปะทะโดยตรง สำหรับการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนแล้วเหตุการณ์ครั้งนี้
นับเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่แพงที่สุดในด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม และวิศวกรรม 
เป็นโจทย์ที่ถือว่าท้าทายมาก กับการออกแบบบ้านไม่บานเพื่อต่อสู้กับความล่มสลาย
ที่มาจากภัยทางธรรมชาติให้สามารถมีชีวิตรอดอยู่ในสภาวะวิกฤตได้ครับ

นี่เป็นบ้าน 2 ชั้นอีกแบบนึงของอ.เชี่ยว ชอบช่วย ค่ะ

บ้านไม่บานต้านพายุ (ลมและคลื่น) (2)
บ้านไม่บานต้านพายุ (ลมและคลื่น) (2)
บ้านไม่บานต้านพายุ (ลมและคลื่น) (2)
บ้านไม่บานต้านพายุ (ลมและคลื่น) (2)
          ในกระบวนการออกแบบบ้านไม่บานที่สามารถต้านพายุนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง
ศึกษาถึง พฤติกรรมต่าง ๆ ของพายุและคลื่นซึ่งเป็นภัยพิบัติที่ร้ายแรงทางธรรมชาติที่
กระทำต่ออาคารบ้านเรือน เพื่อหาแนวทางป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
          จากการสังเกตจากซากปรักหักพังของอาคารบ้านเรือนพบว่า ในบริเวณพื้นที่ราบ
จะมีความสูญเสียสูงเนื่องจากเป็นที่โล่งแจ้งในขณะที่บริเวณ ที่มีความลาดชัน (SLOPE)
 จะมีความปลอดภัยกว่า ดังเห็นได้จาก หมู่บ้านชาวประมงชายฝั่ง บังกะโลหรือ รีสอร์ท 
ที่ปลูกสร้างแบบถาวรและไม่ถาวร ที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบนั้นจะถูกแรงปะทะโดยตรงกับ
กระแสคลื่นโดยตรงอย่างรุนแรง ในขณะที่อาคารที่ตั้งอยู่ชั้นสูงขึ้นไป ความรุนแรงจะ
เบาบางลง
          ในประเทศญี่ปุ่นนั้น ด้วยประสบการณ์อันโชกโชน สถาปนิกจึงออกแบบวางผัง 
สร้างตึกสูงไว้ด้านหน้า และปลูกอาคารบ้านเรือนขนาดเล็ก เช่น บังกะโลไว้ด้านหลัง 
ในการออกแบบอาคารต้านพายุจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาทิศทางลม ทิศทางน้ำ คลื่น 
โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ หรือ ภาพถ่ายจากดาวเทียม GIS ตรวจสอบ เพื่อออกแบบ
แนวกันคลื่น หรือสันเขื่อนกันคลื่น (BUFFER) เพื่อลดความรุนแรงของคลื่นที่สาดเข้า
มามีทั้งทราย โคลน ปนเปื้อนเข้ามาด้วย ฉะนั้นการออกแบบและวางผังอาคารจำเป็น
ต้องให้ความสำคัญกับระบบการระบายน้ำย้อนกลับ ต้องสามารถระบายน้ำได้อย่าง
สะดวกและรวดเร็ว และจำเป็นต้องมีการถอยร่นระยะห่างของอาคารจากชายฝั่ง เพื่อ
ลดแรงปะทะลง และ ในการออกแบบระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ต่าง ๆ นั้น 
ถ้าเป็นไปได้ควรจะเอาระบบเหล่านี้ลงไต้ดินทั้งหมด
          ส่วนวัสดุอุปกรณ์ที่เลือกใช้สร้างบ้านต้านพายุนั้นจะต้องเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง
ทนทานเป็นพิเศษ เช่น อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นต้น ส่วนโครงสร้างนั้นถ้าเป็นไปได้
ควรเป็นโครงสร้างเหล็กซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีศักยภาพในการดูดซับพลังงานสูง เมื่อแรง
กระทำผ่านจุดยืดหยุ่นไปแล้ว ทำให้ไม่เกิดการพังทลายในทันที ดังนั้นในการคำนวณ
เพื่อออกแบบโครงสร้างนั้นจะต้องออกแบบให้สามารถ รับแรงกระทำทางด้านข้าง 
และต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาเพิ่มขึ้นด้วย โครงสร้างที่ได้รับการ
ออกแบบเพื่อรับแรงต่าง ๆ เหล่านี้ จะเพิ่มค่าก่อสร้างจากเดิมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น 
ซึ่งคุ้มค่าต่อการลงทุนเพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน 
จากภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
          อีกทั้งรูปทรงของอาคาร ต้องได้รับการศึกษาค้นคว้าหารูปทรงที่เหมาะสม 
อาคารจำพวกบังกะโลหรือรีสอร์ท อาจจะต้องมีบริเวณที่หลบภัย เสมือนหลุมหลบภัย 
แต่เป็นเหมือนปล่องทรงกระบอกกลมมนที่มีช่องระบายอากาศ และมีความแข็งแรง 
และมีบันไดภายในเพื่อให้สามารถหลบภัยได้โดยที่น้ำไม่ท่วม และยังทำหน้าที่เป็น
พื้นที่สำหรับจอดเฮลิคอร์ปเตอร์ หรือเพื่อหนีภัย,และให้ความช่วยเหลือทางอากาศ 
พื้นที่ดังกล่าวนี้ควรมีรูปทรงกระบอกเพื่อลดแรงปะทะลง ในยามปกติพื้นที่ดังกล่าว
จะใช้เป็นพื้นที่สำหรับสัญจร ระหว่างชั้น โดยออกแบบให้เป็นกำแพงรับแรงเฉือน
(SHEAR WALL) และกำแพงรับน้ำหนัก (BEARING WALL) กำแพงรับแรงเฉือน
ดังกล่าวนี้เริ่มต้นที่ฐานรากและสูงติดต่อกันจนถึงหลังคา มีบันไดเชื่อมระหว่าง
ชั้นเป็นบันไดวน เป็นตัวเสริมความแข็งแรงให้กับโครงสร้างรูปทรงกลม ในขณะ
ที่ส่วนล่างบริเวณพื้นที่ไต้ดินของทรงกระบอกจะเป็นส่วนเก็บน้ำ เพื่อเพิ่มน้ำหนัก
ให้ส่วนนี้ ให้แข็งแรงมั่นคงพอจะต้านพายุได้ครับ
บ้านไม่บานต้านพายุ (ลมและคลื่น) (2)
บ้านไม่บานต้านพายุ (ลมและคลื่น) (2)
บ้านไม่บานต้านพายุ (ลมและคลื่น) (2)
บ้านไม่บานต้านพายุ (ลมและคลื่น) (2)
          ในการออกแบบวางผังอาคารบ้านเรือนที่ต้านพายุ (ลมและคลื่น)นั้น ควรหลีกเหลี่ยง
การวางผังที่มีลักษณะเป็นรูปตัว L รูปตัว U เนื่องจากอาคารดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะเกิด
ความเสียหายได้ง่าย ซึ่งรูปทรงเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยออกแบบให้มีสะพานเชื่อม
ระหว่างอาคาร ทำให้ความเสียหายเกิดที่สะพานเชื่อมดังกล่าวเป็นจุดแรก และง่ายต่อ
การซ่อมแซมในภายหลัง
          ส่วนระบบพื้นที่ถ่ายเทแรงด้านข้างได้ดีนั้น คือระบบพื้นที่เรียกว่า ไดอาแฟม 
(Diaphragm) เป็นพื้นคอนกรีตหล่อกับที่ที่รองรับด้วยคานคอนกรีต หรือคานเหล็ก
ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับตัวอาคาร
          ในด้านการออกแบบระบบภูมิทัศน์ นั้น จะต้องมีการการออกแบบพื้นที่ปลูก
ต้นไม้อย่างเหมาะสมที่สามารถดูดซับแรงปะทะของกระแสลมและคลื่น โดยอาจจะ
ออกแบบให้เป็นสันเนิน หรือ เขื่อน และมีการระบายน้ำออกอย่างสะดวกและรวดเร็ว 
ทั้งนี้ทั้งนั้นการวางผังภูมิทัศน์ ดังกล่าว ต้องมีรูปแบบที่ผสานกลมกลืนกับสภาพภูมิทัศน์
โดยรอบรวมทั้ง การปลูกต้นไม้และวางตำแหน่งเพื่อดูดซับรับแรงกระทำจากพายุ 
(ทั้งกระแสลมและคลื่น)
          แม้ความเสียหายจากภัยธรรมชาติจะผ่านไปแล้วสิ่งที่หลงเหลือ คือ ซากปรัก
หักพังและโศกนาฎกรรม คือบทเรียนสำหรับการเรียนรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนา
รูปแบบบ้านต้านพายุ ที่มีราคาแพงที่สุดสำหรับมุมมองในด้านการออกแบบทาง
สถาปัตยกรรม และวิศวกรรมนับได้ว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทาย เป็นการต่อสู้ระหว่างการ
ล่มสลายกับการมีชีวิตรอดโดยมีความฝันที่จะฟื้นฟูบ้านฟื้นฟูเมือง ฝันถึงอาคาร
บ้านเรือนที่อยู่รอดปลอดภัยดี เมื่อเกิดอุบัติภัยทางธรรมชาติ เป็นการทำงาน
ภายใต้ความเพียรอันบริสุทธิ์ ดังปรากฎอยู่ใน "พระมหาชนก" อันเป็นพระราช
นิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ่อพระของคนรักบ้านทุก ๆ ท่านและ
ต้องกราบขอบพระคุณ ศาตราจารย์ มรว. ทอฝฃงใหญ่ ทองใหญ่ ที่ได้ให้
คำแนะนำและวิพากวิจารณ์ที่เป็นประโยชน์ หากท่านผู้อ่านสนใจรายละเอียด
 บ้านไม่บานต้านพายุ ก็สามารถติดต่อได้ที่ อ.เชี่ยว หรือ ผศ. ภัทรพล 
เวทยสุภรณ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร วังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร 
หน้าพระลาน กทม. 10200 หรือ มีข้อติชมประการไดก็สามารถติดต่อได้ครับ
ข้อมูลพื้นฐาน
พื้นที่ปลูกสร้าง กว้าง 10.00 เมตร ลึก 16.00 เมตร
พื้นที่ใช้สอยประมาณ 160 ตารางเมตร บ้าน 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ 1 ส่วนครัว
บ้าน 2 ชั้น 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ 1 ห้องรับแขก

ภาพและข้อมูลจาก http://www.homeloverthai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น