ในกระบวนการออกแบบบ้านไม่บานที่สามารถต้านพายุนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง
ศึกษาถึง พฤติกรรมต่าง ๆ ของพายุและคลื่นซึ่งเป็นภัยพิบัติที่ร้ายแรงทางธรรมชาติที่
กระทำต่ออาคารบ้านเรือน เพื่อหาแนวทางป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
จากการสังเกตจากซากปรักหักพังของอาคารบ้านเรือนพบว่า ในบริเวณพื้นที่ราบ
จะมีความสูญเสียสูงเนื่องจากเป็นที่โล่งแจ้งในขณะที่บริเวณ ที่มีความลาดชัน (SLOPE)
จะมีความปลอดภัยกว่า ดังเห็นได้จาก หมู่บ้านชาวประมงชายฝั่ง บังกะโลหรือ รีสอร์ท
ที่ปลูกสร้างแบบถาวรและไม่ถาวร ที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบนั้นจะถูกแรงปะทะโดยตรงกับ
กระแสคลื่นโดยตรงอย่างรุนแรง ในขณะที่อาคารที่ตั้งอยู่ชั้นสูงขึ้นไป ความรุนแรงจะ
เบาบางลง
ในประเทศญี่ปุ่นนั้น ด้วยประสบการณ์อันโชกโชน สถาปนิกจึงออกแบบวางผัง
สร้างตึกสูงไว้ด้านหน้า และปลูกอาคารบ้านเรือนขนาดเล็ก เช่น บังกะโลไว้ด้านหลัง
ในการออกแบบอาคารต้านพายุจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาทิศทางลม ทิศทางน้ำ คลื่น
โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ หรือ ภาพถ่ายจากดาวเทียม GIS ตรวจสอบ เพื่อออกแบบ
แนวกันคลื่น หรือสันเขื่อนกันคลื่น (BUFFER) เพื่อลดความรุนแรงของคลื่นที่สาดเข้า
มามีทั้งทราย โคลน ปนเปื้อนเข้ามาด้วย ฉะนั้นการออกแบบและวางผังอาคารจำเป็น
ต้องให้ความสำคัญกับระบบการระบายน้ำย้อนกลับ ต้องสามารถระบายน้ำได้อย่าง
สะดวกและรวดเร็ว และจำเป็นต้องมีการถอยร่นระยะห่างของอาคารจากชายฝั่ง เพื่อ
ลดแรงปะทะลง และ ในการออกแบบระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ต่าง ๆ นั้น
ถ้าเป็นไปได้ควรจะเอาระบบเหล่านี้ลงไต้ดินทั้งหมด
ส่วนวัสดุอุปกรณ์ที่เลือกใช้สร้างบ้านต้านพายุนั้นจะต้องเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง
ทนทานเป็นพิเศษ เช่น อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นต้น ส่วนโครงสร้างนั้นถ้าเป็นไปได้
ควรเป็นโครงสร้างเหล็กซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีศักยภาพในการดูดซับพลังงานสูง เมื่อแรง
กระทำผ่านจุดยืดหยุ่นไปแล้ว ทำให้ไม่เกิดการพังทลายในทันที ดังนั้นในการคำนวณ
เพื่อออกแบบโครงสร้างนั้นจะต้องออกแบบให้สามารถ รับแรงกระทำทางด้านข้าง
และต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาเพิ่มขึ้นด้วย โครงสร้างที่ได้รับการ
ออกแบบเพื่อรับแรงต่าง ๆ เหล่านี้ จะเพิ่มค่าก่อสร้างจากเดิมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ซึ่งคุ้มค่าต่อการลงทุนเพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน
จากภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
อีกทั้งรูปทรงของอาคาร ต้องได้รับการศึกษาค้นคว้าหารูปทรงที่เหมาะสม
อาคารจำพวกบังกะโลหรือรีสอร์ท อาจจะต้องมีบริเวณที่หลบภัย เสมือนหลุมหลบภัย
แต่เป็นเหมือนปล่องทรงกระบอกกลมมนที่มีช่องระบายอากาศ และมีความแข็งแรง
และมีบันไดภายในเพื่อให้สามารถหลบภัยได้โดยที่น้ำไม่ท่วม และยังทำหน้าที่เป็น
พื้นที่สำหรับจอดเฮลิคอร์ปเตอร์ หรือเพื่อหนีภัย,และให้ความช่วยเหลือทางอากาศ
พื้นที่ดังกล่าวนี้ควรมีรูปทรงกระบอกเพื่อลดแรงปะทะลง ในยามปกติพื้นที่ดังกล่าว
จะใช้เป็นพื้นที่สำหรับสัญจร ระหว่างชั้น โดยออกแบบให้เป็นกำแพงรับแรงเฉือน
(SHEAR WALL) และกำแพงรับน้ำหนัก (BEARING WALL) กำแพงรับแรงเฉือน
ดังกล่าวนี้เริ่มต้นที่ฐานรากและสูงติดต่อกันจนถึงหลังคา มีบันไดเชื่อมระหว่าง
ชั้นเป็นบันไดวน เป็นตัวเสริมความแข็งแรงให้กับโครงสร้างรูปทรงกลม ในขณะ
ที่ส่วนล่างบริเวณพื้นที่ไต้ดินของทรงกระบอกจะเป็นส่วนเก็บน้ำ เพื่อเพิ่มน้ำหนัก
ให้ส่วนนี้ ให้แข็งแรงมั่นคงพอจะต้านพายุได้ครับ
ในการออกแบบวางผังอาคารบ้านเรือนที่ต้านพายุ (ลมและคลื่น)นั้น ควรหลีกเหลี่ยง
การวางผังที่มีลักษณะเป็นรูปตัว L รูปตัว U เนื่องจากอาคารดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะเกิด
ความเสียหายได้ง่าย ซึ่งรูปทรงเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยออกแบบให้มีสะพานเชื่อม
ระหว่างอาคาร ทำให้ความเสียหายเกิดที่สะพานเชื่อมดังกล่าวเป็นจุดแรก และง่ายต่อ
การซ่อมแซมในภายหลัง
ส่วนระบบพื้นที่ถ่ายเทแรงด้านข้างได้ดีนั้น คือระบบพื้นที่เรียกว่า ไดอาแฟม
(Diaphragm) เป็นพื้นคอนกรีตหล่อกับที่ที่รองรับด้วยคานคอนกรีต หรือคานเหล็ก
ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับตัวอาคาร
ในด้านการออกแบบระบบภูมิทัศน์ นั้น จะต้องมีการการออกแบบพื้นที่ปลูก
ต้นไม้อย่างเหมาะสมที่สามารถดูดซับแรงปะทะของกระแสลมและคลื่น โดยอาจจะ
ออกแบบให้เป็นสันเนิน หรือ เขื่อน และมีการระบายน้ำออกอย่างสะดวกและรวดเร็ว
ทั้งนี้ทั้งนั้นการวางผังภูมิทัศน์ ดังกล่าว ต้องมีรูปแบบที่ผสานกลมกลืนกับสภาพภูมิทัศน์
โดยรอบรวมทั้ง การปลูกต้นไม้และวางตำแหน่งเพื่อดูดซับรับแรงกระทำจากพายุ
(ทั้งกระแสลมและคลื่น)
แม้ความเสียหายจากภัยธรรมชาติจะผ่านไปแล้วสิ่งที่หลงเหลือ คือ ซากปรัก
หักพังและโศกนาฎกรรม คือบทเรียนสำหรับการเรียนรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนา
รูปแบบบ้านต้านพายุ ที่มีราคาแพงที่สุดสำหรับมุมมองในด้านการออกแบบทาง
สถาปัตยกรรม และวิศวกรรมนับได้ว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทาย เป็นการต่อสู้ระหว่างการ
ล่มสลายกับการมีชีวิตรอดโดยมีความฝันที่จะฟื้นฟูบ้านฟื้นฟูเมือง ฝันถึงอาคาร
บ้านเรือนที่อยู่รอดปลอดภัยดี เมื่อเกิดอุบัติภัยทางธรรมชาติ เป็นการทำงาน
ภายใต้ความเพียรอันบริสุทธิ์ ดังปรากฎอยู่ใน "พระมหาชนก" อันเป็นพระราช
นิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ่อพระของคนรักบ้านทุก ๆ ท่านและ
ต้องกราบขอบพระคุณ ศาตราจารย์ มรว. ทอฝฃงใหญ่ ทองใหญ่ ที่ได้ให้
คำแนะนำและวิพากวิจารณ์ที่เป็นประโยชน์ หากท่านผู้อ่านสนใจรายละเอียด
บ้านไม่บานต้านพายุ ก็สามารถติดต่อได้ที่ อ.เชี่ยว หรือ ผศ. ภัทรพล
เวทยสุภรณ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร วังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หน้าพระลาน กทม. 10200 หรือ มีข้อติชมประการไดก็สามารถติดต่อได้ครับ
ข้อมูลพื้นฐาน
พื้นที่ปลูกสร้าง กว้าง 10.00 เมตร ลึก 16.00 เมตร
พื้นที่ใช้สอยประมาณ 160 ตารางเมตร บ้าน 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ 1 ส่วนครัว
บ้าน 2 ชั้น 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ 1 ห้องรับแขก
|